ในฐานะทีมงาน The White Room Charity ทุกการจัดกิจกรรมเพื่อเยาวชน จำเป็นต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง โดยภัยคุกคามเด็ก ไม่ได้มีเพียงภัยคุกคามทางกาย แต่มีทั้งหมด 4 ประเภท คือ
1. การคุกคามทางกาย
2. การคุกคามทางอารมณ์
3. การคุกคามทางเพศ
4. การละเลย
โดยได้มีตัวอย่างวิธีการจัดการป้องกันปัญหาดังกล่างดังนี้
ชนิดการคุกคาม | อาการบ่งชี้ | การป้องกันทางระบบ | การปฏิบัติตนของทีมงาน | การสังเกตช่วยเหลือเด็ก |
---|---|---|---|---|
1. การคุกคามทางกาย: คือการคุกคามที่ทำให้เด็กเป็นอันตรายทางกาย ทั้งทางตรงและทางอ้อม | การบาดเจ็บ, การไม่ยอมพูดถึงการบาดเจ็บ, กลัวการกลับบ้าน, ประวัติการถูกลงโทษที่รุนแรงเกินไป, อยู่ในสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม, ก้าวร้าว | – ตรวจสอบความปลอดภัยของที่พัก กิจกรรม หาทางหนีภัย และแผนสำหรับเหตุฉุกเฉิน – ทำการอบรมความปลอดภัยให้แก่ทีมงาน และหัวหน้าต้องติดตามการทำงานอย่างใกล้ชิด – มีหน่วยปฐมพยาบาล – คัดเลือกทีมงานอย่างดี – ติดตามดูการเข้าออกของบุคคลภายนอกในพื้นที่ | – เข้าใจกิจกรรมและระมัดระวังซึ่งความปลอดภัยในการทำกิจกรรมตลอดเวลา – ทราบข้อมูลเด็กทุกคน การแพ้ ข้อจำกัด สร้างระบบในการดูแลเด็กของกลุ่มตนเอง – แจ้งและย้ำเตือนกฏกติกาของค่ายอยู่เสมอ มีการส่งเสริมให้เด็กปฏิบัติตามตลอด – เป็นตัวอย่างที่ดีไม่ใช้ความรุนแรง | – ติดตามเช็คจำนวนเด็กตลอด – ไม่ให้เด็กไปไหนโดยลำพัง – สังเกตการป่วยและบาดแผล – เมื่อมีการกระทบกระทั่ง ต้องห้ามและตักเตือน – ดูแลเด็กในการใช้อุปกรณ์ที่อันตราย หรือการไปในสถานที่ที่อาจเกิดภัยคุกคาม รวมถึงติดตามสภาพอากาศ – ไม่ลงโทษเด็กทางกาย |
2. การคุกคามทางอารมณ์: คือการคุกคามที่ทำให้เด็กเกิดความรู้สึก ทั้งไม่มีความสุข ด้อยค่า ไม่สบายใจ เสียใจ | ตื่นกลัว, ร้อนรน, เกลียดตัวเอง, มีความผิดปกติทางการพูด, ชอบดูดนิ้ว ม้วนผม, กลัวโดนฟ้อง | – มีข้อมูลเด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์ และวางแผนการดูแล – ตรวจสอบกิจกรรมและการปฏิบัติตนของทีมงานให้ดี – จัดทีมงานให้มีมากพอที่จะดูแลเด็กได้ทั่วถึง (ขั้นต่ำ 1:10) | – ไม่ใช้คำหยาบ กรองคำพูด – ไม่บังคับ ขู่เข็ญ ทำให้กลัว ไม่เหยียดเพศ ผิว รูปร่าง ไม่ตีตราเด็ก ไม่ลำเอียง เปรียบเทียบ ดุด่าอย่างรุนแรง ประชดประชัน – ให้ความเคารพต่อเด็กและทีม | – ไม่อนุญาตให้เด็กพูดคำหยาบ – ตักเตือนหากเด็กทำพฤติกรรมไม่เหมาะสมดังข้อด้านซ้าย – ติดตามดูแลเด็กที่มีปัญหา จงรับฟังปัญหา จดจำ นำไปรายงาน และให้กำลังใจ |
3.การคุกคามทางเพศ : หมายรวมถึงการล่วงละเมิดทางเพศโดยตรง และการบังคับให้ยุ่งเกี่ยวกับสื่อทางเพศ | ไม่เชื่อใจ/ไม่อยากอยู่กับผู้ใหญ่ลำพังร่องรอยการถูกลวนลาม, ตื่นกลัว, ซึมเศร้าอยากตาย,พฤติกรรมเปลี่ยน | – ตรวจสอบกิจกรรมไม่ให้มีการบังคับขู่เข็ญทางเพศหรือมีสื่อลามกในกิจกรรม – วางแผนเฝ้าระวังการคุกคามระหว่างเพศ เช่น การจัดที่พัก ห้องน้ำ ที่แต่งตัว | – ไม่ล่วงละเมิดทางเพศเด็ก – ไม่แตะต้องเพศตรงข้ามในจุดสงวนหรือใต้ร่มผ้า – ไม่บังคับเด็กดูสื่อลามก – ส่งเสริมการเคารพในเพศตรงข้าม | – ติดตามระวังการคุกคามทางเพศ ทั้งเพศตรงข้ามและเพศเดียวกัน ยับยั้ง ตักเตือน – หากพบเด็กมีปัญหาทางเพศ รับฟัง ให้กำลังใจ รายงาน หาทางแก้ไขที่ยั่งยืน |
4. การละเลย: คือการไม่ใส่ใจต่อความเป็นอยู่ของเด็ก ทั้งปัจจัยพื้นฐ่าน ความปลอดภัย และอารมณ์ | หิวตลอดเวลา, สกปรก, ไม่ค่อยมาโรงเรียน, ขาดทักษะทางสังคม, ป่วยโดยไม่ได้รักษา, เหนื่อยง่าย | – จัดเตรียมอาหาร น้ำ ห้องน้ำ อุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นให้เพียงพอและมีคุณภาพ – จัดสรรทีมงานให้กระจายดูแลผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างทั่วถึง | – รับผิดชอบในเรื่องพื้นฐานของเด็กให้เต็มที่ ทั้งอาหาร สุขอนามัย โรคภัยไข้เจ็บ – ใส่ใจในน้องที่เราดูแลตลอดเวลา และส่งเสริมการดูแลกันและกันในหมู่เพื่อน | – เข้าไปพูดคุย สร้างความใส่ใจให้แก่เด็กทุกคนอย่างเท่าเทียม – สังเกตอาการการถูกละเลยทางสังคมของเด็ก และสนับสนุน รับฟัง แก้ปัญหาให้เด็กได้รับการยอมรับในสังคม |
- หมายเหตุ: อาการบ่งชี้ คือ อาการที่ทำให้เราประเมินได้ว่าเด็กเคยถูกคุกคามในด้านนั้น ๆ มาในอดีต